สมุนไพรน่าสนใจ

ในยุคของการพัฒนาเศรษฐกิจ พัฒนาสินค้าไทย พัฒนาสมุนไพร สถาบันการแพทย์แผนไทยได้เผยแพร่ความรู้อยู่เสมอว่า ภูมิปัญญาพื้นบ้านในด้านสมุนไพรไทย ได้ถูกลืมไปชั่วระยะหนึ่งเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงในค่านิยมของคนไทยไปสู่ สินค้าต่างประเทศ สินค้านำเข้า ทำให้เสียดุลการค้ากับต่างประเทศ ไปเป็นจำนวนมาก ในทางตรงข้ามเป็นที่สังเกตว่า คนต่างประเทศกลับสนใจภูมิปัญญาไทย สนใจสมุนไพรไทย ถึงกับมีการจ้างปลูก มีการลักลอบนำพืชสมุนไพรไทยออกนอกประเทศ เพื่อการค้นคว้าและผลิตยาใหม่ ๆ กลับมาขายคนไทยในราคาแพง
เพื่อให้สอดรับกับแนวคิดข้างต้นนั้น สถาบันการแพทย์แผนไทยได้จัดการประชุมเสนอผลงานทางวิชาการด้านแพทย์แผนไทยไป บ้างแล้ว ซึ่งในการประชุมครั้งที่ผ่านมาในปี 2543 นั้น เน้นการเสนอผลงานทางวิชาการด้านการแพทย์แผนไทย การวิจัยเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่น่าสนใจ ควรนำมาเผยแพร่เพื่อเป็นแนวคิด และจุดเริ่มต้นสำหรับผู้ผลิตสมุนไพรไทย ต่อไปมีดังนี้
1. ลูกใต้ใบ ตามภูมิปัญญาไทยแต่ดั้งเดิมใช้รักษาอาการไข้ รักษาโรคตับ จากการศึกษาวิจัยในสัตว์ทดลองพบว่าลูกใต้ใบไม่มีพิษต่อตับ นอกจากนี้ยังป้องกันพิษต่อตับขอพาราเซตตามอลในสัตว์ทดลอง ซึ่งจะต้องศึกษาวิจัยในคนต่อไป
2. ขี้เหล็ก ผักพื้นบ้านไทยคลายเครียด พบสารสำคัญ คือ บาราคอล ผลการวิจัยในสัตว์ทดลองพบว่าสามารถทำให้หลั่งสารสำคัญชื่อ 5-HT ในคนปกติที่มีความเครียดจะหลั่งสารชนิดนี้น้อย ซึ่งคนที่กินแกงขี้เหล็กจะทำให้หลับสบาย ถ่ายสะดวก ปัจจุบันมีการใช้ขี้เหล็กมาทำเป็นยานอนหลับกันมาก ข้อควรระวัง การนำขี้เหล็กมาใส่แคปซูลโดยตรงไม่เหมือนกับคนโบราณที่กินเป็นอาหารโดยการ ต้มและนำมาแกงนั้น ก็อาจจะทำให้มีพิษต่อตับได้ ดังนั้น ควรกินแบบอาหารโดยการต้มน้ำทิ้งก่อนนำมาแกง และไม่ควรกินติดต่อกันทุกวัน ซึ่งผลการวิจัยนี้จะมีประโยชน์ในการทำยาอย่างปลอดภัยต่อประชาชนต่อไป
3. โลดทะนงแดง ต้านพิษงูเห่าในสัตว์ทดลอง ได้ สมุนไพรโลดทะนงแดงในสมัยโบราณมีการนำมาใช้กับผู้ที่ถูกงูพิษกัด แต่เนื่องจากยังขาดข้อมูลที่เป็น วิทยาศาสตร์มาสนับสนุน เพราะการได้รับพิษงูนั้นเป็นอันตรายเกินไปและเป็นการเสี่ยงที่จะแนะนำให้ ใช้ในคน แต่จากการทดลองพบว่า สมุนไพรโลดทะนงแดงสามารถยืดอายุการตายของหนูที่ได้รับพิษงูเห่าได้ แต่มิได้หมายถึงว่าหนูรอดตาย ผลการวิจัยนี้ยืนยันว่าสมุนไพรชนิดนี้มีฤทธิ์ต่อพิษงูเห่า ข้อแนะนำในการนำมาใช้กับคนซึ่งเป็นการเสี่ยงมาก จึงขอแนะนำให้รักษาแบบแผนปัจจุบัน คือ การรับเซรุ่ม หรือการใช้กรณี ผสมผสานหรือในภาวะเร่งด่วน เช่น ช่วงระหว่างการเดินทางในชนบท พื้นที่ที่ห่างไกลโรงพยาบาลอาจจะนำสมุนไพรชนิดนี้มาใช้กับผู้ป่วยได้ แต่ต้องแนะนำให้รีบ ไปโรงพยาบาลเพื่อรับเซรุ่ม เพราะพิษงูเป็นอันตราย ต่อระบบประสาท ระบบการหายใจ อาจเสียชีวิตได้ถ้ารักษาไม่ถูกวิธีซึ่งในการศึกษาวิจัยจะต้องมีการพัฒนาก้าว ต่อไป
4. สมุนไพรไทยเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ปัจจุบันพฤติกรรมการบริโภคอาหารของคนไทยแตกต่างไปจากเดิมมาก ทำให้ได้รับสารอนุมูลอิสระเข้าในร่างกาย มากเกินความจำเป็น เช่น ผู้ที่ชอบกินของปิ้ง ย่าง เผา กินผักผลไม้ที่มีสารพิษทำให้เกิดสารก่อมะเร็ง นักวิจัย จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำโดย รศ.ดร.ไมตรี สุทธจิตต์ ได้นำเอาสมุนไพรไทยไปทดสอบสารต้านอนุมูลอิสระ พบว่าสมุนไพรที่มีสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด เช่น ใบชะพลู สีเสียด กานพลู ชาแห้ง ใบชาสด เปลือกต้นสะเดา ชาจีน หม่อน เมล็ดมะขาม สมอพิเภก เป็นต้น ดังนั้นข้อแนะนำในการรับประทาน อาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระเป็นการป้องกันการเกิดโรคมะเร็งได้ ผักพื้นบ้านไทยหาง่าย สามารถป้องกันโรคได้ คนไทยควรกินผักผลไม้มาก ๆ ทุก ๆ วัน เพื่อให้ร่างกายมีสารต้านอนุมูลอิสระ และควรกินผัก พื้นบ้านหลากหลายที่มีอยู่ตามท้องถิ่น และตามฤดูกาล
5. หญ้าหวาน ผลการวิจัยหญ้าหวานพบว่า สารสกัดอย่างหยาบของหญ้าหวานไม่มีผลต่อการก่อ กลายพันธุ์ ไม่มีผลต่อการเป็นหมันทั้งในระยะเฉียบ พลัน หรือเรื้อรัง และไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลง ของสมรรถภาพ ตับ ไต และค่าทางโลหิตวิทยา ในแง่ของการส่งเสริมพัฒนาสมุนไพร กอปรกับประเทศไทยกำลังประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจ การเร่งดำเนินการเพื่อนำหญ้าหวานและอนุญาตให้ใช้หญ้าหวานแทนสารที่ให้ความ หวานสังเคราะห์จากต่างประเทศ จะ ทำให้ประหยัดเงินมิให้รั่วไหลในต่างประเทศได้อีก ทางหนึ่ง
6. หญ้าหนวดแมว สมุนไพรทางเลือกช่วย ผู้ป่วยนิ่วในไต หญ้าหนวดแมวเป็นพืชที่ปลูกอยู่ทั่วไปตามบ้าน มีดอกขาวสวย ออกดอกเกือบทั้งปี จึงเป็น ไม้ประดับที่สวยงาม นอกจากนั้นยังมีคุณค่าทางการรักษาเกสรตัวผู้ยื่นยาวออกมานอกกลีบดอก ทำให้มีลักษณะคล้ายหนวดแมว จึงมีคนเรียกพืชชนิดนี้ว่า หญ้าหนวดแมว หญ้าหนวดแมวเป็นพืชที่ปลูกง่ายนิยมปลูกโดยการปักชำหรือใช้เมล็ด ขึ้นง่าย เติบโตเร็ว ปลูกเป็นแปลงผัก หรือปลูกในกระถาง หญ้าหนวดแมวมีชื่อพื้นเมือง เช่น พยัพเมฆ, บางรักป่า, อีตู่ดง สารสำคัญในใบของหญ้าหนวดแมวมีเกลือโพแทสเซียมในปริมาณสูง 0.7-0.8%
ฤทธิ์และประโยชน์ทางยาของหญ้าหนวดแมว คือ ใช้ขับปัสสาวะ ขับนิ่ว ใบอ่อนใช้เป็นยา ขับปัสสาวะที่มีประสิทธิภาพสูงเนื่องจากมีเกลือ โพแทสเซียมมาก หญ้าหนวดแมวใช้รักษานิ่วได้ทั้งนิ่วด่างซึ่งเกิดจากแคลเซียม (หินปูน) ซึ่งมักจะเป็นก้อน ที่เกิดจากการดื่มน้ำที่มีหินปูน และใช้รักษานิ่วกรดซึ่งเกิดจากกรดยูริก นิ่วจำนวนนี้จะไม่เป็นก้อนแต่จะร่วนเป็นเม็ดทราย ไม่ทึบแสง มักเกิดจากการรับประทานเนื้อสัตว์และเครื่องในสัตว์มากเกินไป ทำให้มีกรดยูริกสูง เมื่อรับประทานหญ้าหนวดแมวซึ่งมีโพแทสเซียมสูงจะทำให้ในกรดมีฤทธิ์เป็นด่าง ทำให้กรดยูริกและ เกลือยูเรต (urate) ไม่จับตัวเป็นก้อน ช่วยป้องกันไม่ให้แคลเซียมตกค้างในไต ช่วยขยายท่อไตให้กว้างขึ้น จึงช่วยบรรเทาอาการปวด หญ้าหนวดแมวไม่มีฤทธิ์ละลายนิ่ว ดังนั้นนิ่วก้อนใหญ่จะไม่ได้ผลแต่จะใช้ได้ดีกับนิ่วก้อนเล็ก ๆ ฤทธิ์ขับปัสสาวะของหญ้าหนวดแมวจะช่วยดันเม็ดนิ่วเล็ก ๆ ให้หลุดออกมา
วิธีการใช้ ให้ใช้ยอดอ่อนซึ่งมีใบอ่อน 2-3 ใบ ควรเก็บช่วงที่หญ้าหนวดแมวกำลังออกดอก แต่ไม่ใช้ดอก ใช้ยอดอ่อนและใบอ่อนนำมาหั่นเป็น ท่อนสั้น ๆ ตากแดดให้แห้ง แล้วใช้ 1 หยิบมือ (2 กรัม) ชงกับน้ำเดือด 1 แก้ว ปิดฝาทิ้งไว้ 5-10 นาที ดื่มขณะร้อน ๆ วันละ 3 ครั้งก่อนอาหาร และต้องดื่มน้ำตามมาก ๆ
ขอเน้นว่าหญ้าหนวดแมวมีโพแทสเซียมสูง จึงไม่ควรใช้กับคนที่เป็นโรคหัวใจ ควรใช้การชงใบอ่อนแห้งดังกล่าวแล้ว ไม่ใช้ใบแก่ เพราะอาจมีสาร ละลายออกมากเกินไป อาจมีฤทธิ์กดหัวใจ ต้องไม่ใช้ ใบสด เพราะอาจทำให้มีอาการคลื่นไส้ ใจสั่น และไม่ควรใช้ร่วมกับยาแอสไพริน.นายแพทย์สุรพงษ์ อำพันวงษ์

อ้วน.com ขอขอบคุณ - เดลินิวส์

http://www.xn--q3c1ar6i.com/forum/

ไม่มีความคิดเห็น:

Speak Your Mind

Powered By Blogger · Designed By Seo Blogger Templates