7 วิธี พ่อแม่ป้ายแดง สร้างความผูกพันแนบแน่นกับเบบี๋

7 วิธี พ่อแม่ป้ายแดง สร้างความผูกพันแนบแน่นกับเบบี๋

นี่ไม่ใช่ผลสำรวจ ผลการศึกษาจากห้องทดลองใดๆ หรือข้อมูลจากตำราหรือคู่มือเลี้ยงลูกเล่ม ใด หากเป็นประสบการณ์ตรงเป็นเวลายาวนานมากว่า 10 ปีของ คุณหมอวิลเลียม เซียร์ส กุมารแพทย์ที่ได้จากการสังเกตและพบปะบรรดาพ่อแม่และลูกน้อยตัวจริง ระหว่างที่มารอตรวจ จนได้พบว่า การเลี้ยงดูลูกวัยทารกนั้นก็มีแนวทางที่จะช่วยส่งเสริมให้ลูกน้อยเติบโตเป็น ผู้ใหญ่ที่มีความมั่นใจ เป็นคนที่มีหัวจิตหัวใจ  แนวทางที่ว่า คือ เลี้ยงดูลูกแบบอิงแอบแนบชิด (Attachment Parenting) ที่จะทำให้พ่อแม่สร้างความผูกพันกับลูกน้อยได้อย่างแนบแน่นกว่าที่เคย มาดูกันว่าเป็นอย่างไร

คุณหมอเซียร์ส อธิบายว่า โดย หลักๆ แล้วการเลี้ยงดูลูกแบบอิงแอบแนบชิด จะเน้นการสัมผัส และตอบสนองความต้องการของลูก ราวกับว่ามีแค่แม่ (และพ่อ) กับลูกน้อยเพียงลำพัง มีเพียงกันและกัน มีโอกาสได้สบตากันและกัน เนื้อแนบเนื้อ ความใกล้ชิดเช่นนี้จะทำให้แม่ (และพ่อ) เข้าใจและตอบสนองความต้องการของลูกได้อย่างรู้ใจ

7 วิธีการต่อไปนี้จะนำไปสู่แนวทางเลี้ยงดูลูกเบบี๋แบบอิงแอบแนบชิดที่คุณหมอเซียร์สแนะนำ

1. ช่วงสัปดาห์แรกของชีวิตเล็กๆ พ่อแม่ควรให้เวลา “เนื้อแนบเนื้อ” และ “ตาสบตา” กับลูกน้อยให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

พูดง่ายๆ คือ อุ้ม กอด หอมลูกน้อยบ่อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะการสัมผัสลูบไล้ กอดหอม

น้ำเสียงที่พูดคุยหรือฮัมเพลงเห กล่อม และน้ำนมที่ได้ดื่มกิน เหล่านี้คือสิ่งที่ลูกน้อยรับรู้ได้ว่า นั่นคือสัมผัสรักอย่างแน่นแฟ้น คือสายใยที่เชื่อมโยงถักทอดวงใจของแม่ พ่อกับลูกไว้ด้วยกัน (จะว่าไปแล้ว ก็เหมือนกับเนื้อร้องของเพลง อิ่มอุ่น ที่ว่า ให้กายเราใกล้กัน ให้ดวงตา ใกล้ตา ให้ดวงใจเราสองเชื่อมโยงผูกพัน...)

2. ให้ลูกดื่มนมจากอกแม่ให้มากและนานที่สุดเท่าที่จะทำได้

         นอกจากลูกน้อยจะได้สารอาหารที่เป็นประโยชน์ยิ่งตามธรรมชาติแล้ว สัมผัสที่แนบแน่นขณะที่ลูกน้อยดูดนมจากอก แม่ การมองตากันและกัน สัมผัสที่ใกล้ชิดรู้สึกได้แม้กระทั่งลมหายใจของกันและกัน จะทำให้แม่สามารถอ่านสีหน้า และภาษากายของชีวิตน้อยๆ ตรงหน้านี้อย่างเข้าอกเข้าใจมากขึ้น  การ ที่แม่ให้ลูกดื่มนมจากอก ยังส่งผลให้ลูกรับรู้และรู้สึกว่าแม่คือสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยและไว้วางใจ ได้ เพราะแม่นี่เองคือคนทำให้ท้องอิ่ม ดูแล ให้ความอบอุ่น เป็นที่พึ่งทุกยามที่ลูกต้องการ

คุณหมอเซียร์สมีข้อสังเกตว่า “หาก แม้แม่มีปัญหาสุขภาพ หรือไม่เอื้อต่อการให้นมลูกเองได้ แม่หรือพ่อก็ยังใกล้ชิดและสบตากับลูกน้อยได้ด้วยการดื่มนมผสมจากขวด เพราะไม่ว่าจะให้นมแม่จากอก หรือนมผสมจากขวดนม ช่วงเวลาของการให้นมลูกก็เป็นโอกาสทองของการสร้างความผูกพันระหว่างพ่อแม่ และลูกน้อยได้เสมอ

3. แล้วคุณจะติดใจเป้อุ้มเด็ก

         คุณหมอเซียร์สกล่าวว่า เวลาที่พ่อแม่มือใหม่พาลูกน้อยมาตรวจสุขภาพ หมอมักจะให้คุณพ่อได้ลองใช้เป้อุ้มเด็กโอบอุ้มลูกน้อย แล้วเดินไปเดินมาดู เพราะหมออยากให้พ่อแม่ได้รู้ว่า เป้ อุ้มเด็กช่วยให้พ่อแม่อุ้มลูกติดตัวไปด้วยในลักษณะการโอบอุ้มตัวลูกอยู่ ระหว่างทำโน่นทำนี่ และเคลื่อนไหวไปมาได้อย่างสะดวก ลูกก็ยังคงแนบชิดและมองเห็น สบตากับพ่อแม่ได้ตลอด    แน่ นอนเป้อุ้มเด็กเป็นตัวช่วยอย่างดีให้พ่อได้มีส่วนร่วมในการดูแลลูกแบบอิงแอบ แนบชิดได้อย่างสะดวกขึ้น จนทำให้คุณพ่อมือใหม่ติดใจกันมาแล้วหลายคน

4. วิทยาลัยกุมารเวชศาสตร์อเมริกัน แนะนำให้ลูกน้อยวัยทารก นอนร่วมห้องกับแม่ โดยให้แยกที่นอนเป็นสัดส่วน

หรือให้มีที่กั้นไม่ให้แม่เผลอไผลไปนอนเบียดลูกเกินไป หรือทับตัวลูกขณะหลับ การนอนของแม่และเบบี๋ควรให้มีระยะห่างเพียงพอให้แม่สามารถเอื้อมถึงตัวลูก ได้ ซึ่งเป็นลักษณะการนอนที่ทำให้ลูกน้อยรู้สึกอบอุ่น ปลอดภัย

5. พ่อแม่ควรรับฟังเสียง “ร้องไห้” ของลูกน้อยด้วยความใส่ใจ และคิดเสมอว่าการร้องไห้ของเบบี๋เป็นการ “สื่อสาร”

เพราะการร้องไห้คือ “ภาษา” ของลูกน้อย เป็นการสื่อสาร ไม่ใช่การเรียกร้อง งอแงของลูก ดังนั้นพ่อแม่จึงควรพยายามทำความเข้าใจว่า ลูกกำลังบอกอะไรกับเรา เช่นว่า หนูหิวแล้ว, แม่ เปลี่ยนผ้าอ้อมให้หน่อย หรือ โอ๋หนูหน่อยนะ ฯลฯ ซึ่งหาก พ่อแม่มีการตอบสนองต่อภาษาและท่าทีที่ลูกสื่อสารออกมา จะทำให้ลูกเกิดความไว้วางใจว่าพ่อแม่เป็นคนที่เข้าใจความต้องการ และให้การดูแลเขาเสมอ และความผูกพันที่เกิดขึ้น จะก่อเกิดเป็นความรู้ใจกัน จนทำให้แค่มองตา เห็นสีหน้า ท่าทางก็เข้าใจ และตอบสนองได้อย่างถูกต้อง จนพ่อแม่จะรู้สึกได้เลยว่า ลูกร้องไห้น้อยลง

6. การเอาลูกเป็นตัวตั้ง ไม่ใช่การตามใจลูก

พ่อแม่มือใหม่หลายคน คงจะเคยได้รับฟังคำแนะนำเรื่องการเลี้ยงลูกจากคนรอบข้าง ด้วยความหวังดีว่า ควรจะ “หัดให้ลูกทำอะไรตามเวลา อย่าตามใจลูก” หรือ “ปล่อยให้ลูกร้องไห้บ้าง ไม่งั้นลูกจะเคยตัว ว่าร้องแล้วพ่อแม่จะตามใจ” ตลอดจน “ร้องแล้วอุ้มแบบนี้ไง ลูกถึงได้ติดอุ้ม” ซึ่งที่จริงแล้ว ความผูกพันใกล้ชิดของพ่อแม่แต่ละราย ควรจะเป็นไปตามรูปแบบของครอบครัว และรูปแบบของการใช้ชีวิตแบบเฉพาะตัว

คุณหมอเซียร์ส เชื่อว่า การ ที่พ่อแม่ให้ความเอาใจใส่กับความต้องการของลูกด้วยความใกล้ชิด จะส่งผลให้ลูกเป็นคนที่มีความมั่นใจในตนเอง และเป็นตัวของตัวเอง เชื่อใจตัวเอง และรู้จักใส่ใจผู้อื่น

ในทางกลับกัน การเลี้ยงลูกอย่างเป็นระเบียบ ตรงตามเวลาเป๊ะๆ หรือเอาจริงเอาจังตามตำรา เกินไป จนกลายเป็นสูตรสำเร็จ โดยไม่ใส่ใจต่อการมีปฏิสัมพันธ์กับลูก นั้นไม่เกิดผลดีต่อลูกเลย เพราะจะทำให้พ่อแม่ขาดทักษะในการเข้าใจ และรู้ใจลูก ซึ่งจะทำให้ลูกไม่ค่อยไว้เนื้อเชื่อใจ เชื่อมั่นในตัวพ่อแม่เท่าที่ควร เพราะลูกมักจะไม่ได้รับการตอบสนองอย่างถูกต้องจากพ่อแม่อย่างที่ควรจะเป็น

7. ระวัง!! การเลี้ยงลูกแบบผูกพันจน “ติดหนึบ”

คุณหมอเซียร์ส เล่าว่า ต้องคอยเตือนภรรยาที่เลี้ยงดูแมทธิว (ลูกชาย) อย่างใกล้ชิดกันมาก ชนิดเรียกได้ว่า ติดแม่จนแม่ ไม่มีเวลากระทั่งไปอาบน้ำได้อย่างสบายใจ ให้ภรรยารู้ตัวว่า สิ่งที่ลูกน้อยต้องการที่สุดคือ แม่ที่มีความสุข และพักผ่อนอย่างเพียงพอ

“ความพอดี เป็นสิ่งที่ดีที่สุด รวมถึงการเลี้ยงลูกแบบผูกพันใกล้ชิดด้วย พ่อแม่ควรตระหนักเสมอว่า ความสมดุล และความพอดีในการเลี้ยงลูกเป็นเรื่องสำคัญ การเลี้ยงลูกแบบผูกพัน นัวเนีย ที่อะไรๆก็ลูก อาจส่งผลให้เสียสมดุลอื่นๆในชีวิตไป อย่างเช่น ความต้องการส่วนตัว และชีวิตคู่

        “ความผูกพันใกล้ชิดที่พ่อแม่มีให้ลูก จนเกิดเป็นความรู้ใจนั้น ย่อมจะทำให้ลูกเองก็เข้าใจในท่าที และรู้จักรู้ใจพ่อแม่ด้วยเช่นกัน ซึ่งที่สุดแล้ว ความผูกพันที่พ่อแม่ลูกมีต่อกันนี้จะถักทอจนทำให้เกิดครอบครัวที่แน่นแฟ้น กันมากขึ้นตามไปด้วย”

ขอขอบคุณบทความดีๆเกี่ยวกับ แม่และเด็ก จาก raklukemag.com

ไม่มีความคิดเห็น:

Speak Your Mind

Powered By Blogger · Designed By Seo Blogger Templates