รับมือกับอาการปวดประจำเดือน

เมื่อย่างเข้าสู่วัยที่มีประจำเดือน หลายคนอาจเจอกับปัญหาการปวดประจำเดือน ซึ่งอาการเหล่านั้นอาจรบกวนหรือส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ จาก ข้อมูลโดยคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ในนักศึกษาหญิงจำนวนกว่า 700 คน พบว่า 78% มีอาการปวดประจำเดือน และมากกว่า 60% ของกลุ่มนี้ยอมรับว่าอาการปวดส่งผลต่อสมาธิในการเรียน ซึ่งวัยรุ่นเป็นช่วงที่ร่างกายและฮอร์โมนเกิดการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นการมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง จะเป็นการเตรียมความพร้อมให้ตัวเองได้ก้าวเข้าสู่วัยผู้ใหญ่อย่างสมบูรณ์ ทั้งสุขภาพกาย และใจ มีความมั่นใจในการทำภารกิจสำคัญต่างๆ และไม่สูญเสียโอกาสที่จะได้ทำกิจกรรมที่ตัวเองชื่นชอบ เพราะร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์คือหัวใจสำคัญของการเปิดรับประสบการณ์ใหม่ๆ ของวัยเรียนรู้

รับมือกับอาการปวดประจำเดือน‘นพ.พิชัย คณิตจรัสกุล’ ผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ บริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัดกล่าวว่า “วัยรุ่นเป็นวัยแห่งการเริ่มต้นเรียนรู้การใช้ชีวิตที่ต้องการความพร้อมทั้ง ทางร่างกายและจิตใจ ดังนั้นการดูแลสุขภาพอนามัยอย่างถูกวิธีจึงเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะวัยรุ่นหญิงที่มีพัฒนาการทางร่างกายและอารมณ์ที่เปลี่ยนไป เช่น การเจริญเติบโตทางร่างกาย การมีประจำเดือน และกลุ่มอาการอื่นๆ ที่อาจจะส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ในวัยเรียนก็อาจต้องขาดเรียนหรือขาดสอบ และในวัยผู้ใหญ่ก็อาจส่งผลกระทบต่อการ

ทำงานได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและอารมณ์เกิดขึ้นก่อนมีรอบเดือน เรียกว่ากลุ่มอาการผิดปกติก่อนมีรอบเดือนหรือ พีเอ็มเอส (PREMEN STRUAL SYNDROME) มีผลกระทบทั้งด้านร่างกายและอารมณ์ โดยอาการทางร่างกายที่อาจพบได้คือ เจริญอาหาร ตัวบวม ปวดหัว ปวดเมื่อย อ่อนเพลีย ส่วนอาการทางอารมณ์ เช่น ซึมเศร้า โกรธง่าย วิตกกังวล ไม่อยากเข้าสังคม ซึ่งถ้าหากอาการเหล่านี้มีความรุนแรงมากขึ้น ควรจะปรึกษาแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยอย่างถูกวิธี”

โดยผู้หญิงทุก คนสามารถเริ่มต้นดูแลตัวเองง่ายๆ ด้วยการสังเกตอาการปวดประจำเดือนของตนเองก่อนว่ามีความผิดปกติหรือไม่ เพราะโดยทั่วไปแล้วอาการปวดประจำเดือนนั้นมีอยู่ 2 ชนิดได้แก่

ปวดประจำเดือนปฐมภูมิ เป็น อาการปวดเกร็งบริเวณท้องที่เกิดขึ้นในช่วงที่มีรอบเดือน โดยไม่ได้มีโรคหรือความผิดปกติใดๆ เกิดขึ้น และอาจมีอาการอื่นเกิดขึ้นร่วมด้วย เช่น อารมณ์เปลี่ยนแปลง อ่อนเพลีย ปวดหลัง ปวดศีรษะ บวมน้ำ ท้องเสีย คลื่นไส้ ซึ่งวิธีดูแลตัวเองที่ ถูกต้องได้แก่ การออกกำลังกาย รับประทาน ยาบรรเทาปวด รวมถึงการประคบด้วยกระเป๋า น้ำร้อน เป็นต้น

ปวดประจำเดือนทุติยภูมิ เป็น อาการปวดที่เกิดจากความผิดปกติของมดลูกหรือรังไข่ เช่น เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (endometriosis) เป็นต้น มักจะมีอาการปวดครั้งแรก เมื่ออายุมากกว่า 25 ปีขึ้นไป โดยก่อนหน้านี้จะไม่เคยมีอาการปวดประจำเดือนมาก่อนจึงควรปรึกษาแพทย์ ในกรณีปวดรุนแรง กินยาบรรเทาปวดแล้วไม่ทุเลา กดถูกเจ็บ มีไข้ ตกขาว หรือมีประจำเดือนออกมากกว่าปกติ

วิธีการดูแลตัวเองเพื่อลดอาการ ปวด ประจำเดือน สามารถทำได้โดยการประคบถุง น้ำร้อนควบคู่ไปกับการดื่มน้ำอุ่นๆ รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เพื่อชดเชยการเสียเลือดมากในช่วงมีประจำเดือน หรือรับการวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหากมีอาการปวดหรือรู้สึก ไม่สบาย รวมทั้งรู้จักวิธีผ่อนคลายตัวเอง เช่น ออกกำลังกายเป็นประจำ การฝึกหายใจ เล่นโยคะ ฯลฯ เพียงเท่านี้ปัญหาจากการปวดประจำเดือนก็จะไม่มากวนใจคุณได้อีก

ขอขอบคุณบทความดีๆเกี่ยวกับ สุขภาพคุณผู้หญิง จาก เปรียว

ไม่มีความคิดเห็น:

Speak Your Mind

Powered By Blogger · Designed By Seo Blogger Templates