ผอม ไม่ผอม ฮอร์โมนคือตัวกำหนด

              ฮอร์โมนไม่ใช่เพียงสารเคมีจากต่อมไร้ท่อที่คอยควบคุมการทำงานของร่างกายให้สมดุลเท่านั้น มันยังเกี่ยวข้องกับน้ำหนักตัวของเรา ตั้งแต่ความรู้สึกหิวจนถึงกระบวนการสะสมไขมัน

              ฮอร์โมนเป็นกุญแจสำคัญที่กำหนดรูปร่างให้ผอมเพรียวหรืออ้วนเผละ "ทั้งความอยากอาหาร หรือกระบวนการเผาผลาญในร่างกายล้วนขึ้นอยู่กับสารเคมีจากต่อมไร้ท่อเหล่านี้" หากคุณพยายามควบคุมสารเคมีอย่าง เลปติน คอร์ติซอล เซโรโทนิน อินซูลิน และอิริซินได้ ก็อาจปั้นหุ่นในฝันขึ้นมาได้ไม่ยาก

              หลายคนแยกไม่ออกว่าอาการอ้วนที่เกิดขึ้นกับตัวเองนั้น เกิดจากกินเยอะไปหรือฮอร์โมนกันแน่ เรามีวิธีสังเกตุง่าย ๆ ดังนี้ค่ะ

               1. กินไม่เยอะ แต่ลดน้ำหนักยาก

               2. ให้สังเกตที่ตาตุ่มและหลังเท้า ถ้ามีอาการบวม อาจเป็นไปได้ว่าคุณอ้วนเพราะฮอร์โมน

               3. มีภาวะอื่น ๆ ในร่างกายที่ดูแปลกไป เช่น ขนหรือผมร่วงมากเกินไป หรือมีขนงอกเพิ่มขึ้นผิดปกติ เนื่องจากฮอร์โมบางตัวอาจทำให้ผู้หญิงมีขนงอกเพิ่มขึ้น

               4. สภาพผิวหนังแห้ง หรือชื้นผิดปกติ

               5. หน้าท้องแตกลายทั้งที่ไม่ได้ตั้งท้อง

              และหากคุณเป็นคนที่อ้วนเพราะฮอรโมน ก็ไม่ต้องกังวล เพราะเราสามารถกำหนดให้เจ้าสารเคมีทรงพลังสร้างเรือนร่างที่อยากให้เป็นได้ นั้นตามมาทำความรู้จัก และดูวิธีต่าง ๆ ที่จะพาให้คุณเอาชนะ ฮอร์โมนกำหนดน้ำหนักตัว

               1. ฮอร์โมน : เลปติน

              เลปตินเป็นหนึ่งในฮอร์โมนที่ผลิตจากเซลล์ไขมัน ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมความอยากอาหาร โดยนักวิจัยพบว่า คนที่มีไขมันส่วนเกินในร่างกายมีสิทธิเผชิญภาวะต้านฮอร์โมนเลปติน ซึ่งสมองจะไม่ตอบสนองต่อเลปตินแม้มันจะหลั่งออกมามากก็ตาม จนปัจจุบันยังคงไม่รู้สาเหตุที่แท้จริง

              แต่ทฤษฎีหนึ่งบ่งชี้ว่า เซลล์ไขมันผลิตสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบแล้วไปปิดกั้นการทำงานของเลปตินร่างกายก็เลยคิดว่ามันกำลังหิว ระบบเผาผลาญทำงานช้าลง ตลอดจนสมองจะส่งสัญญาณกระตุ้นให้คุณหิวและสวาปามได้ไม่ยั้ง โดยเฉพาะอาหารแคลอรี่สูง

              วิธีสร้างสมดุลฮอร์โมน : ภาวะต้านฮอร์โมนเลปติน สามารถรักษาได้ด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และการออกกำลังกาย โดยคุณลองกินผัก 1 ถ้วย ก่อน 10 โมงเช้าทุกวัน

              โดยแพทย์ด้านระบบต่อมไร้ท่อ ในแอตแลนต้า ได้ยืนยันแล้วว่า คนที่กินตามคำแนะนำมีแนวโน้มการกินน้อยลง รวมถึงไฟเบอร์และสารแอนตี้ออกซิแดนต์ ก็ช่วยลดอาการอักเสบที่รบกวนการทำงานของเลปติน นั้นช่วยเพิ่มอัตราเผาผลาญไขมันและลดความรู้สึกอยากอาหารได้

               2. ฮอร์โมน : คอร์ติซอล

              เคยสงสัยไหมคะ ว่าในวันที่เคร่งเครียดยุ่ง เหยิงทำไมถึงคุณรู้สึกกอยากกินของหวานเป็นพิเศษ นั่นเพราะต่อมหมวกไตหลั่งฮอร์โมนความเครียดออกมาเพื่อเตรียมพลังงานให้อยู่ในโหมดพร้อมสู้หรือถอยหนี ร่างกายก็เลยต้องการแป้งกับน้ำตาลมากขึ้น

              นอกจากนี้ คนที่ทำงานแบบหามรุ่งหามค่ำทั้งวันทั้งคืน มีระดับคอร์ติซอลสูงกว่าปกติถึง 2 เท่า ซึ่งฮอร์โมนคอร์ติซอลในร่างกายนี้ จะเป็นต้นเหตุของห่วงยาง 3 ชั้น

              วิธีสร้างสมดุลฮอร์โมน : หากไม่ต้องการพึ่งยาแต่ต้องการควบคุมตัวเองให้หยุดตั้งหน้าตั้งตากินแป้งและน้ำตาล การนอนหลับอย่างเพียงพอช่วยได้ค่ะ แต่ควรหันไปกินอาหารโฟเลตสูงอย่างหน่อไม้ฝรั่ง ถั่วเมล็ดแบนเช่น ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วเขียว ฯลฯ และผักโขม วิตามินบีในอาหารเหล่านี้ช่วยสร้างเซโรโทนิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้สมองสงบลงจากความเครียด

              ฮอร์โมน ความอ้วนที่ซ่อนอยู่รอบตัวคุณ  

              ปัจจุบันนี้ "ฮอร์โมนไม่ได้ผลิตแค่ภายในร่างกายเราเท่านั้น มันอยู่รอบ ๆ ตัวเรา…จะอะไรซะอีกล่ะ ก็ผลิตภัณฑ์ 3 ชนิด ที่เราใช้กันอยู่ทุกวี่วัน ใครจะรู้ว่า "มันมีสารเคมีที่กระตุ้นให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนความอ้วนออกมา"

                 1. น้ำหอม และผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของน้ำหอม

                น้ำหอม เครื่องสำอาง และเครื่องใช้ในครัวเรือนรอบตัวเราหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นแชมพู น้ำยาทำความสะอาดพื้น มีสารเคมีที่เรียกว่า "พทาเลต (phthalates)" ช่วยให้กลิ่มหอมทนนาน สบายจมูก แต่สารเคมีชนิดนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับน้ำหนักส่วนเกินของสาว ๆ ทางที่ดีคุณหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีสารนี้จะดีกว่า แต่หากยอมตุ้ยนุ้ยเพื่อเนื้อตัวหอมนานก็ช่วยไม่ได้ค่ะ 

                2. อาหารกระป๋อง

                ตัวกระป๋องอาจมีสารเคมีที่ทำหน้าที่คล้ายเอสโตรเจน นั่นก็คือ Bishenol A (BPA) โปรดระวังอาหารที่มีฤทธิ์เป็นกรด เช่น มะเขือเทศ ซึ่งอาจทำปฏิกิริยากับกระป๋องแล้วปล่อยสาร BPA เจือปนในอาหารได้ หากสารนี้สะสมในร่างกายเยอะ ๆ มันจะส่งผลต่อร่างกายหลายด้าน ดังนั้นเลือกใช้กระป๋องปลอด BPA หรือทานอาหารที่ใส่บรรจุภัณฑ์อื่นจะดีกว่าค่ะ

                3. เครื่องครัวที่เคลือบสารกันติดกระทะ

                มีการวิจัยหนึ่ง เปิดเผยว่า เด็กที่เกิดจากคุณแม่ที่มีระดับกรด Perfluorooctanoic (PFOA) สูงช่วงตั้งท้อง มีแนวโน้มจะอ้วนง่ายกว่าเด็กที่เกิดจากคุณแม่ที่มีสารเคมีชนิดนี้ในร่างกายต่ำ

                ซึ่งไอ้เจ้าสาร PFOA นี้ มักพบในเครื่องครัวที่เคลือบผิวกันติด ซึ่งหากเปลี่ยนมาใช้เครื่องครัวทำจากเหล็ก หรือสเตนเลส ก็จะปลอดภัยและดีต่อคุณเองและลูกน้อยมากกว่า

                ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่า ความอ้วนไม่อยู่ที่การกินเท่านั้น แต่ฮอร์โมนก็ยังมีส่วนกำหนด และก็ไม่เพียงแต่ฮอร์โมนในร่างกายเท่านั้น ข้าวของเครื่องใช้ในบ้านและเครื่องสำอาง ของใกล้ตัวที่มีสารเคมี ซึ่งกระตุ้นหรือรบกวนการทำงานภายในร่างกายของคุณก็ให้คุณอ้วนได้


                สิ่งที่คุณจะทำให้ฮอร์โมนไม่สามารถมีผลต่อน้ำหนักตัว และความอ้วนได้ คือเข้าใจ และรู้วิธีในสร้างสมดุลและพยายามควบคุมฮอร์โมนเหล่านี้ให้ได้ค่ะ


      ขอบคุณบทความดีๆเกี่ยวกับการลดความอ้วนจาก kapook.com

ไม่มีความคิดเห็น:

Speak Your Mind

Powered By Blogger · Designed By Seo Blogger Templates